วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาและ พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

จาก พรบ การศึกษาแห่งชาติ
หมวดที่ 1 มาตราที่ 7
ใจความว่า
                  ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สอดคล้องกับปรัชญาพิพัฒนนิยม
                ที่เน้นความสำคัญของประชาธิปไตย จริยธรรม ศาสนา และศิลปะ ดังนั้น หลักสูตรการศึกษาจึงเน้นการปลูกฝังการฝึกฝนอบรมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์และการเรียนรู้

จาก พรบ การศึกษาแห่งชาติ
หมวดที่ 2 มาตราที่ 10
ใจความว่า
                การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
สอดคล้องกับปรัชญาสัจนิยมวิทยา
                คนมีธรรมชาติเหมือนกันทุกคนดังนั้น การศึกษาจึงควรเป็นแบบเดียวกันสำหรับทุกคน


จาก พรบ การศึกษาแห่งชาติ
หมวดที่ 3 มาตราที่ 15 (3)
ใจความว่า
                การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ
ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ
หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ
สอดคล้องกับปรัชญาอัตนิยม
                การให้เสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเป็นตัวของตังเอง และสนับสนุนส่งเสริมผู้เรียนในการค้นหาความหมายและสาระสำคัญของชีวิต ผู้เรียนมีเสรีภาพในการเลือกตัดสินใจเมื่ออยู่ในสถานการณ์ต่างๆ



จาก พรบ การศึกษาแห่งชาติ
หมวดที่ 4 มาตราที่ 23 (1)
ใจความว่า
                 ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน
ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สอดคล้องกับปรัชญาปฏิรูปนิยม
                การปฏิรูปสังคมหรือการพัฒนาสังคมให้ดีขึ้นโดยการจัดระเบียบของสังคม การอยู่ร่วมกันของคนในสังคม และการส่งเสริมประชาธิปไตย มุ่งเน้นให้ผู้เรียนตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อสังคม

จาก พรบ การศึกษาแห่งชาติ
หมวดที่  5 มาตราที่ 33
ใจความว่า
  มาตรา ๓๓ สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย
แผน และมาตรฐานการศึกษาของชาติ นโยบายและแผนด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม การสนับสนุน
ทรัพยากร การประเมินผลการจัดการศึกษา การดำเนินการด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายและกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้
สอดคล้องกับปรัชญาสารัตถนิยม
              การศึกษาคือเครื่องมือในการสืบทอดมรดกทางสังคม ซึ่งก็คือวัฒนธรรมและอุดมการณ์ทั้งหลายอันเป็นแก่นสาระสำคัญ

จาก พรบ การศึกษาแห่งชาติ
หมวด 6 มาตราที่ 48
มีใจความว่า

       ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับ การประกันคุณภาพภายนอก
สอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาแบบผสมผสาน 
               มีการนำเอาข้อดีของสถานศึกษานั้นๆมาจัดทำรายงานประจำปีเพื่อเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด


จาก พรบ การศึกษาแห่งชาติ
หมวด 7  มาตรา ที่58
 มีใจความว่า
              ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยการกำกับ และประสานให้สถาบันที่ทำหน้าที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาให้มีความพร้อมและมีความเข้มแข็งในการเตรียมบุคลากรใหม่และการพัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่อง  รัฐพึงจัดสรรงบประมาณและจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา อย่างเพียงพอ
สอดคล้องกับปรัชญาปฎิรูปนิยม 
                การมุ่งเน้นพัฒนาครู ให้ตระหนักในหน้าที่และบทบาทของตนเองที่มีต่อสังคม

 
จาก พรบ การศึกษาแห่งชาติ
หมวด 8 มาตรา ที่58
 มีใจความว่า
                ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน
ทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนเอกชน องค์กรเอกชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่น และต่างประเทศมา ใช้จัดการศึกษา ดังนี้
        (๑) ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยอาจจัดเก็บภาษี
เพื่อการศึกษาได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
        (๒) ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชน
องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สิน และทรัพยากรอื่นให้แก่ สถานศึกษา และมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น
                ทั้งนี้ ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากร ดังกล่าว โดยการสนับสนุน การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี ตามความเหมาะสม และความจำเป็น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
สอดคล้องกับปรัชญาสารัตถนิยม                         
                  การให้ครูมีส่วนร่วมส่งเสริมให้ผู้เรียนรับการถ่ายทอดความรู้ และสาระต่างๆ                                                                                                                                   


จาก พรบ การศึกษาแห่งชาติ
หมวด 9 มาตรา ที่66
มีใจความว่า
                ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
สอดคล้องกับทฤษฎีปรัชญาอัตนิยม (Existentialism)                                                                                                                          
               ปรัชญานี้ให้ความสนใจที่ตัวบุคคลหรือความเป็นอยู่ มีอยู่ของมนุษย์ซึ่งมักจะถูกละเลย ปรัชญานี้เชื่อว่า ความจริงเป็นเรื่องนามธรรมที่ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปให้ สาระความเป็นจริง ก็คือความมีอยู่ เป็นอยู่ ของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์แต่ละคนจะต้องกำหนดหรือแสวงหาสาระสำคัญด้วยตนเอง โดยการเผชิญกับสถานการณ์ที่เรียกว่า “existential situation” ซึ่งบุคคลแต่ละคนมีเสรีภาพที่จะเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง 

                                                                      ทิศนา  แขมมณี.2554. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพมหานคร.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 
                                         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น